จิตวิทยา หรือ Psychology มาจากรากศัพท์ภาษากรีก 2 คำ คือ Psyche หมายถึงวิญญาณ
(Soul) กับ (Logos) หมายถึง
วิทยาการหรือการศึกษา (Study) ดังนั้น
หากให้ความหมายตามนิยามดั้งเดิม จิตวิทยาจึงหมายถึง
การศึกษาเกี่ยวกับจิตหรือวิญญาณ ( Study of mind หรือ Study
of soul ) ต่อมา
มีการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ในเชิงวิทยาศาสตร์กันมากขึ้น
โดยมุ่งศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมการกระทำ หรือกระบวนการคิด พร้อมๆ กับการศึกษาเรื่องสติปัญญา
ความคิด ความเข้าใจ การใช้เหตุผล รวมทั้งเรื่องของตน (Self) และเรื่องราวของบุคคลที่แสดงพฤติกรรมที่มุ่งเน้นเรื่องการปรับตัวของบุคคล
โดยนำการสังเกตและการทดลองมาเกี่ยวข้องเพื่อรวบรวมความรู้มาใช้ในการศึกษาอย่างเป็นระบบ
เป็นการศึกษาที่เน้นเฉพาะพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์เท่านั้น
ความหมายของจิตวิทยาการศึกษา
จิตวิทยาการศึกษา หมายถึง
วิชาที่เกี่ยวกับปัญหาทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
ตลอดจนศึกษาธรรมชาติและกระบวนการศึกษาเรียนรู้เพื่อนำหลักเกณฑ์ทางจิตวิทยาที่ได้รับจากการศึกษามาใช้ในการเรียนการสอนให้ได้ผลดี
มีประสิทธิภาพ ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของนักเรียนในสภาพของการจัดการเรียนการสอน
โยมีเนื้อหาและระเบียบวิธีการส่วนของเนื้อหาจะเกี่ยวข้องกับธรรมชาติของการเรียนรู้และพัฒนาการ
สภาวะของเด็กและสภาพแวดล้อมในโรงเรียน และประมวลนำเนื้อหามาหาวิธีการจัดรูปแบบที่ทำให้ครูและผู้เกี่ยวข้องกับเด็กสามารถนำไปใช้ได้
ประโยชน์ของจิตวิทยาการศึกษา
จิตวิทยาการศึกษามีประโยชน์สำหรับบุคคลทุกวัยไม่เฉพาะครูผู้สอน
เช่น ผู้บริหารการศึกษา นักแนะแนว ศึกษานิเทศก์ หัวหน้าหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งบิดา
มารดา ผู้ปกครอง ในด้านต่างๆ ต่อไปนี้
1.ช่วยให้ครูเข้าใจธรรมชาติ
ความเจริญเติบโตของเด็กและสามารถนำความรู้ที่ได้มาจัดการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับธรรมชาติ
ความต้องการ ความสนใจของเด็กแต่ละวัย
2.ช่วยให้ครูสามารถเตรียมบทเรียน วิธีสอน จัดกิจกรรม ตลอดจนใช้วิธีการวัดและประเมินผลการศึกษาได้สอดคล้องกับวัย
ซึ่งเป็นการช่วยให้จัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ
3.ช่วยให้ครูสามารถจัดกิจกรรมได้อย่างสนุกสนานด้วยบรรยากาศของความเข้าใจ
การให้ความร่วมมือ และให้การยอมรับซึ่งกันและกัน
4.ช่วยสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างครู ผู้ปกครองและเด็ก
ทำให้ปกครองเด็กง่ายขึ้นและสามารถทำงานกับเด็กได้อย่างราบรื่น
5.ช่วยให้ครูป้องกันและหาทางแก้ไข
ตลอดจนพัฒนาบุคลิกภาพของเด็กได้อย่างเหมาะสม
6.ช่วยให้ผู้บริหารการศึกษาวางแนวทางการศึกษา จัดหลักสูตร
อุปกรณ์การสอนและการบริหารงานได้เหมาะสม
7.ช่วยให้ผู้เรียนเข้ากับสังคมได้ดี ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ดี
7.ช่วยให้ผู้เรียนเข้ากับสังคมได้ดี ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น